วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระบบศักดินา ( Feudalism )

การฟื้นฟูระบบการปกครองที่มีพระจักรพรรดิเป็นประมุข

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่นตกอยู่ภายใต้ความกดดันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เปิดประเทศสู่โลกภายนอก อีกทั้งโครงสร้างทางสังคมและการเมืองอันเข้มงวดที่อิเอยะสึเป็นผู้กำหนดขึ้นภายในประเทศญี่ปุ่น ก็เริ่มที่จะทำให้เกิดความตึงเครียดอันเนื่องมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

ในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) พลเรือจัตวา แมทธิว ซี เพอร์รี่ แห่งสหรัฐอเมริกา นำกองเรือ 4 ลำเข้ามาในอ่าวโตเกียว พลเรือจัตวาแมทธิวกลับมาอีกครั้งในปีถัดมา และประสบความสำเร็จในการชักจูงให้ญี่ปุ่นลงนามในสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปีเดียวกันนั้นเอง ญี่ปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญาทำนองเดียวกันกับประเทศรัสเซีย อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ดังนั้นจึงเป็นการเปิดประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง สี่ปีต่อมาสนธิสัญญาเหล่านี้ได้ถูกเปลี่ยนเป็นสนธิสัญญาทางการค้า และญี่ปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญาทำนองเดียวกันนี้กับประเทศฝรั่งเศสด้วย

ผลกระทบจากเหตุการณ์เหล่านี้ เพิ่มความกดดันแห่งกระแสทางสังคมและการเมือง ซึ่งกัดกร่อนรากฐานของโครงสร้างระบบศักดินาทีละน้อย ความวุ่นวายครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นกินเวลาประมาณทศวรรษ จนกระทั่งระบบศักดินาของโชกุนโตกุงาวะได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) และได้ถวายอำนาจอธิปไตยทั้งมวลคืนพระจักรพรรดิในการปฏิรูปเมจิ (Meiji Restoration) ในปี พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868)





      
ระบบศักดินาไทย
      ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน
     ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
     ถ้าเทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์
     ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้น
     ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดยกำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง

ระบบศักดินายุโรป


พื้นฐานและที่มาของระบบ
ระดับชั้นในระบบศักดินาของตะวันตกเป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นระบบที่ใช้ในสังคมของยุโรปอย่างกว้างขวางในยุคกลาง หัวใจของระบบคือการมอบดินแดนให้เป็นการแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการทหาร
ธรรมชาติของระบบศักดินาเป็นระบบที่สร้างระดับชั้นในสังคม ที่ผู้มีส่วนร่วมต่างก็ทราบฐานะและหน้าที่ของตนในระบบสังคมนั้น ว่ามีความเกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่อผู้ใดที่เหนือกว่า และต่ำกว่าตนเองอย่างใด การรักษาความสัมพันธ์ดังว่าเป็นไปตามการสืบดินแดนตามกฎบัตรต่างๆ หรือประเพณีที่วางไว้อย่างเคร่งครัด แต่กฎของประเพณีอันสำคัญที่สุดและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดที่สุดคือกฎสิทธิของบุตรคนแรกซึ่งหมายความว่าสมบัติ/ที่ดินทุกอย่างของผู้ที่เสียชีวิตต้องตกเป็นของบุตรชายคนโตเท่านั้น
บุคคลในสังคมระบบศักดินาเป็น "บริวาร" (vassal) หรือ "ข้า" ของประมุข ฉะนั้นจึงต้องสาบานความภักดีต่อประมุข ผู้ที่มีความรับผิดชอบและหน้าที่ในการพิทักษ์และรักษาความยุติธรรมให้แก่ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง สังคมระบบศักดินาเป็นสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความภักดีและหน้าที่รับผิดชอบต่อกันและกัน เป็นสังคมที่ประกอบด้วยผู้ครองดินแดนผู้เป็นทหารและชนชั้นแรงงานที่เป็นเกษตรกร ขุนนางที่เป็นผู้ครองดินแดนที่ว่านี้ก็รวมทั้งสังฆราชเพราะสังฆราชก็เป็นผู้ครองดินแดนเช่นเดียวกับฆราวาส ชนชั้นที่ต่ำที่สุดในระบบนี้คือเกษตรกร หรือ villeins ต่ำกว่านั้นก็เป็นข้าที่ดิน (serfs)
ระบบศักดินารุ่งเรืองมาจนกระทั่งเมื่อระบบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจจากศูนย์กลางมีความแข็งแกร่งขึ้น ก่อนหน้านั้นผู้มีอำนาจที่แท้จริงคือขุนนางผู้ครองดินแดน ผู้มีเกษตรกรอยู่ภายใต้การปกครองผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ระบบการศาลก็เป็นระบบที่ทำกันในท้องถิ่นที่ปกครอง ระบบก็จะแตกต่างกันออกไปบ้างแต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรก็จะมีที่ดินทำมาหากินแปลงเล็กๆ หรือแปลงที่ร่วมทำกับผู้อื่นที่ใช้เป็นที่ปลูกอาหารสำหรับตนเองและครองครัว และมีสิทธิที่จะหาฟืนจากป่าของผู้ครองดินแดนมาใช้ ระบบที่ใช้กันมากคือระบบการแบ่งที่ดินเป็นผืนยาวๆ รอบดินแดนของมาเนอร์
ระบบศักดินาตะวันตกที่วิวัฒนาการขึ้นในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพอันระส่ำระสายในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในฝรั่งเศสเป็นระบบที่ทำให้สร้างความมีกฎมีระเบียบขึ้นบ้าง การเป็นเจ้าของดินแดนก็อาจจะได้มาโดยการยินยอมหรือการยึดครอง ผู้ครองดินแดนใหญ่ๆ อาจจะได้รับหน้าที่ทางกฎหมายและทางการปกครองจากรัฐบาลกลางพอสมควร เมื่อมาถึงระดับดินแดนในปกครองผู้ครองดินแดนก็อาจจะทำข้อตกลงกับเจ้าของดินแดนที่ย่อยลงไปอื่นๆ ในการก่อตั้งกองทหารท้องถิ่นเพื่อการป้องกันตนเอง ระบบศักดินาเป็นระบบที่มีกฎหมายและจารีตที่เป็นของตนเองที่มามีบทบาทอันสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรปในยุคกลาง ระบบศักดินานำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี พ.ศ. 1609 แต่ทรงริดรอนอำนาจจากขุนนางที่เป็นบริวารของพระองค์เป็นอันมากและใช้ระบบการบริหารจากส่วนกลาง ระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่าง: เจ้าของที่ดิน, ที่ดิน และ รัฐบาล สมาชิกในระบบศักดินารวมทั้งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของระบบ แต่ละคนต่างก็มีอภิสิทธิ์แตกต่างกันไปตามที่ระบุตามกฎระบบศักดินาในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่กำหนด

ระดับชั้นในระบบศักดินา
  1. ดยุค
  2. มาร์ควิส
  3. เอิร์ล (อังกฤษ) หรือ เคานท์ หรือ มากราฟ (ภาคพื้นยุโรป)
  4. ไวส์เค้านท์
  5. บารอน
ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งสืบสกุล พระมหากษัตริย์มีสิทธิที่จะพระราชทานตำแหน่งใหม่ หรือเพิกถอน หรือผนวกดินแดนเป็นของหลวง แต่ละตระกูลจะสืบสกุลไปจนกว่าจะสิ้นบุตรชายหรือถูกปลดหรือถูกผนวกโดยดินแดนอื่น ลักษณะของดินแดนที่ครองก็เปลี่ยนไปตามความผันผวนทางการเมือง, การแบ่งแยกที่ดินระหว่างทายาท หรือการรวมตัวกันเป็นสหอาณาจักร และอื่นๆ บางตำแหน่งก็เป็นตำแหน่งเลือกตั้งหรือการเลื่อนระดับเช่นตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครของอาณาจักรสมเด็จพระสังฆราช แม้ว่าผู้ครองดินแดนเหล่านี้อาจจะไม่เป็นข้าราชการโดยตรงแต่ก็มีหน้าที่รับผิดชอบต่อผู้เหนือกว่า ขุนนางเหล่านี้จะมี ที่ดิน หรือ Estate เป็นของตนเอง มีข้าที่ดิน (serfs) คือสามัญชนที่ทำกินในที่ดินของขุนนาง และต้องจ่ายภาษีให้ขุนนางเจ้าของที่ดินนั้น และขุนนางมีอำนาจตัดสินคดีความในเขตของตน และจะต้องส่ง ทหารที่พร้อมรบ ไปรวมทัพกับกษัตริย์ในกรณีที่มีการระดมพล ในการทำสงคราม ขุนนางจะต้องรับผิดชอบ เกณฑ์คนในเขตของตนไปร่วมกองทัพ
ที่มา

- http://www.jat-languagecafe.com/newsite/highlight/display.php?id=611



วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Postmodernism

อิทธิพลที่ส่งผลโดยตรงที่สุดของงานออกแบบ Graphic Design
ความเป็นมา และความหมาย 

Post-Modern เป็นแนวคิดบุคของมนุษย์ ที่เรียกได้ว่าเป็นยุคมองผ่านแว่นตา คือเป็นการหล่อหลอมยุคขึ้นด้วย หลักทางวิชาการ บทกวีที่เต็มไปด้วยอนาคต จากแนวคิดของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นยุคที่มนุษยชาติ ไม่เคยพบเห็นมาก่อนว่า โลกตื่นขึ้นด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงสุด มีทั้ง รถ เครื่องบิน ทฤษฎีวิทยาศาสตร์Hollywood


แนวคิด Post-Modern เป็นคำตอบที่มนุษย์เกิดแนวคิด ความหวังใหม่ของอนาคต อย่าง Futurism — การประชด ต่อต้านสิ่งที่ยึดติดในอดีต อย่างรุนแรง Anti-Academy : DADA — การถ่ายทอดเรื่องน่าอาย ปลดเปลื้องจินตนาการ สู่งานออกแบบ : Surrealism –เกิดงานออกแบบที่มีหลักการและเหตุผลสำหรับการใช้งานที่เป็นจริง ในงานออกแบบ : Bauhaus ภาษาใหม่ที่เต็มไปด้วยหลักการในงานจิตรกรรม อย่าง Neo-Plasticism

กำเนิดแนวคิด Post Modern – Futurism
จิ๊กซอล ชิ้นแรก ที่เป็รประตูสู่ โลก Post-Modern ที่สำคัญเกิดจาก ทัศนคติ ที่ประชาชน มีต่อโลก – วิทยาการ ที่เปลี่ยนแปลง แกนเนื้อหา หรือการให้ความหมาย คำว่า “ฟิวเจอร์ริสม์” มาจาก นักกวีชาวอิตาลี “ฟิลิโป โทมาส มาริเนตติ” ซึ่งต่อมาได้รู้จัก และสนิทกับ จิตกร ที่ต่อมากลายเป็นผู้นำ อิทธิพลของลัทธินี้ นั่นคือ   “อุมแบร์โต บ๊อคโชนี Umberto Boccioni” โดยที่ ฟิลิโป(ชาวกวี) เป็นผู้เขียนแถลงการณ์ ถึงยุคสมัยใหม่ของโลก ที่เต็มไปด้วยวัตถุนิยม ผ่านหนังสือพิมพ์ “เล ฟีกาโร” ของฝรั่งเศส และมี บ๊อคโชนี เคียงข้าง วาดภาพประกอบให้อย่างขยันขันแข็ง เพื่อสนับสนุนแนวคิด ของ ฟิลิปโป


แนวคิดในการสร้างงาน ตามลักษณะ Futurism
ชอบทำลายกฎเกณฑ์ เกลียด ประเพณีนิยม ชอบเสียงเครื่องจักร Movement ชอบเสียงเทคโนโลยี เช่น รถยนต์ ประชดการเมือง สงครามในรูปแบบ คล้ายๆ Expressionism คือ เคลื่อนไหวแบบแข็งกร้าว คล้าย เครื่องจักรอุตสาหกรรมหนัก ประชดเพราะ มันเป็นแนวคิดในบทกวี โครงกลอน ถึงโลกอนาคตที่ไร้ความเจ็บปวด


 
กำเนิด DADA
ดาดา เป็นชื่อเรียกความเคลื่อนไหว ในช่วงรอยต่อของสงครามโลกครั้งที่ 1 ตามแนวคิดของกลุ่มนี้ เกิดจากอัดอั้น จากสังคมที่เสื่อมโทรม ศิลปวิทยาที่ ตีบตัน เนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงต่อต้าน ศิลปะนิยม หลักการแนวคิด สุนทรียะต่างๆ Anti-art อย่าง เย้ยเยาะถากถาง โกหก หลอกลวง ทึกทักคิดเอง ไม่จรรโลงโลก จะพบว่าแนวคิดนี้มีผลสืบเนื่องมาจาก กวี ใน Futurism


ลักษณะงานแบบ Music Score
ในภาพประกอบไปด้วยคำถึง 700 คำ บนกระดาษ 20 หน้า ใช้ตัวอักษรที่แตกต่างค่อนข้างสูง จัดตัวอักษรเป็นแถวบนกระดาษ มีการกระจายคำให้สอดคล้องกับบทกลอน //จัดวางตำแน่งตัวอักษรในตำแน่งที่สามารถสร้างแนวคิดสร้างสรรค์ได้ และยังประสบความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์ของการจัดตัวักษรให้เข้ากับตัวโน้ต เพราะตำแน่งการจัดวาง ให้ความรู้สึกสูง ต่ำ คล้าย Melody ตัวโน๊ต นั่นซึ่ง คือจังหวะให้ความรู้สึกแบบ บทกวี และกลอน ของ Futurism นั่นเอง
 
Postmodernism 
อิทธิพลที่ส่งผลโดยตรงที่สุดของงานออกแบบ Graphic Design
Post-Modern เป็นแนวคิดบุคของมนุษย์ ที่เรียกได้ว่าเป็นยุคมองผ่านแว่นตา คือเป็นการหล่อหลอมยุคขึ้นด้วย หลักทางวิชาการ บทกวีที่เต็มไปด้วยอนาคต จากแนวคิดของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นยุคที่มนุษยชาติ ไม่เคยพบเห็นมาก่อนว่า โลกตื่นขึ้นด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงสุด มีทั้ง รถ เครื่องบิน ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ Hollywood

แนวคิด Post-Modern เป็นคำตอบที่มนุษย์เกิดแนวคิด ความหวังใหม่ของอนาคต อย่าง Futurism — การประชด ต่อต้านสิ่งที่ยึดติดในอดีต อย่างรุนแรง Anti-Academy : DADA — การถ่ายทอดเรื่องน่าอาย ปลดเปลื้องจินตนาการ สู่งานออกแบบ : Surrealism –เกิดงานออกแบบที่มีหลักการและเหตุผลสำหรับการใช้งานที่เป็นจริง

ในงานออกแบบ : Bauhaus ภาษาใหม่ที่เต็มไปด้วยหลักการในงานจิตรกรรม อย่าง Neo-Plasticism จิ๊กซอล ชิ้นแรก  ที่เป็รประตูสู่ โลก Post-Modern ที่สำคัญเกิดจาก ทัศนคติ ที่ประชาชน มีต่อโลก – วิทยาการ ที่เปลี่ยนแปลง

แกนเนื้อหา หรือการให้ความหมาย คำว่า “ฟิวเจอร์ริสม์” มาจาก นักกวีชาวอิตาลี “ฟิลิโป โทมาส มาริเนตติ” ซึ่งต่อมาได้รู้จัก และสนิทกับ จิตกร ที่ต่อมากลายเป็นผู้นำ อิทธิพลของลัทธินี้ นั่นคือ“อุมแบร์โต บ๊อคโชนี Umberto Boccioni” โดยที่ ฟิลิโป(ชาวกวี) เป็นผู้เขียนแถลงการณ์ ถึงยุคสมัยใหม่ของโลก ที่เต็มไปด้วยวัตถุนิยม ผ่านหนังสือพิมพ์ “เล ฟีกาโร” ของฝรั่งเศส และมี บ๊อคโชนี เคียงข้าง วาดภาพประกอบให้อย่างขยันขันแข็ง เพื่อสนับสนุนแนวคิด ของ ฟิลิปโป

แนวคิดในการสร้างงาน ตามลักษณะ Futurism ชอบทำลายกฎเกณฑ์ เกลียด ประเพณีนิยม ชอบเสียงเครื่องจักร Movement ชอบเสียงเทคโนโลยี เช่น รถยนต์ ประชดการเมือง สงครามในรูปแบบ คล้ายๆ

Expressionism คือ เคลื่อนไหวแบบแข็งกร้าว คล้าย เครื่องจักรอุตสาหกรรมหนัก ประชดเพราะ มันเป็นแนวคิดในบทกวี โครงกลอน ถึงโลกอนาคตที่ไร้ความเจ็บปวด

ดาดา เป็นชื่อเรียกความเคลื่อนไหว ในช่วงรอยต่อของสงครามโลกครั้งที่ 1 ตามแนวคิดของกลุ่มนี้ เกิดจาก อัดอั้น จากสังคมที่เสื่อมโทรม ศิลปวิทยาที่ ตีบตัน เนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงต่อต้าน ศิลปะนิยม หลักการแนวคิด สุนทรียะต่างๆ Anti-art อย่าง เย้ยเยาะถากถาง โกหก หลอกลวง ทึกทักคิดเอง ไม่จรรโลงโลก จะพบว่าแนวคิดนี้มีผลสืบเนื่องมาจาก กวี ใน Futurism

ลักษณะงานแบบ Music Score :ในภาพประกอบไปด้วยคำถึง 700 คำ บนกระดาษ 20 หน้า ใช้ตัวอักษรที่แตกต่างค่อนข้างสูง จัดตัวอักษรเป็นแถวบนกระดาษ มีการกระจายคำให้สอดคล้องกับบทกลอน //จัดวางตำแน่งตัวอักษรในตำแน่งที่สามารถสร้างแนวคิดสร้างสรรค์ได้ และยังประสบความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์ของการจัดตัวักษรให้เข้ากับตัวโน้ต เพราะตำแน่งการจัดวาง ให้ความรู้สึกสูง ต่ำ คล้าย Melody ตัวโน๊ต นั่นซึ่ง คือจังหวะให้ความรู้สึกแบบ บทกวี และกลอน ของ Futurism นั่นเอง

อ้างอิงจาก

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Modernism

Modernism
โมเดิร์น อาร์ต ศิลปะสมัยใหม่
Modern Art
modern-art

คริสต์ทศวรรษ 1860-1970
โดยทั่วไปคำว่า โมเดิร์น (Modern คือคำวิเศษณ์ ตรงกับคำว่า “สมัยใหม่” ในภาษาไทย) หมายถึง ความใหม่ ความร่วมยุคร่วมสมัย ศิลปะล้วนแล้วแต่ “ใหม่ (modern)” สำหรับผู้สร้างมัน ถึงแม้ว่าจะเป็น ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา (Renaissance, เรอเนอซองส์) ในฟลอเรนซ์ หรือในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในนิวยอร์ค หรือศิลปะที่เขียนขึ้นในวันนี้ ในรูปแบบของศิลปะคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็ยัง “ใหม่ (modern)” ในความหมายนี้


หรืออีกนัยหนึ่ง ในความหมายแบบกำปั้นทุบดินสมัยใหม่ก็คือ สิ่งที่ไม่เก่า สิ่งที่ตรงกันข้ามกับ “เก่า” หรือ “ประเพณี” ดังเช่น ความสมัยใหม่ในบริบทของสังคมไทย ภาพเขียนของ ขรัวอินโข่ง หรือของ สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ จึงสมัยใหม่สำหรับสังคมไทยในสมัยนั้นๆ เรา(คนไทย) มักจะนึก “ความเป็นฝรั่ง” พร้อมๆกับคำว่าสมัยใหม่ แต่ในความหมายเชิงประวัติศาสตร์ คำว่า “โมเดิร์น” ในศิลปะตะวันตกหมายถึงยุคสมัยจำเพาะในทางประวัติศาสตร์ ระหว่างประมาณคริสต์ทศวรรษ 1860-1970 ในความหมายนี้สมัยใหม่ถูกใช้อธิบายรูปแบบและอุดมคติหรืออุดมการณ์ในการสร้างสรรค์ในยุคนั้นๆ

ลักษณะสำคัญของ “ศิลปะสมัยใหม่” (Modern Art) และ “ลัทธิสมัยใหม่” (Modernism, โมเดิร์นนิสม์) คือ ทัศนคติใหม่ๆที่มีต่ออดีตและอนาคต ซึ่งเป็นไปแบบสุดขั้ว โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ถือกันว่าเป็นยุคปฏิวัติของยุโรป ศิลปินเริ่มที่จะให้การยอมรับการเขียนภาพ “เหตุการณ์ปัจจุบัน-ร่วมสมัย” ในยุคของตนว่า สามารถมีคุณค่าทางศิลปะได้เท่าเทียมกับภาพเขียนเรื่องราวในอดีตตั้งแต่ยุคโบราณ หรือยุคประวัติศาสตร์จากคัมภีร์ไบเบิล

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขนานใหญ่ทั่วยุโรปใน ปี 1848 ประกอบกับการอ่อนแรงของศิลปะแบบทางการ หรือ ศิลปะตามหลักวิชา (academic art) ทำให้กระแสศิลปะลัทธิสมัยใหม่ยิ่งเติบโต

จิตรกรแนว นีโอ-คลาสสิสม์ (Neo-Classicism) อย่าง ฌาค หลุยส์ ดาวิด (Jacques Louis David) เขียนภาพเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส จิตรกรแนว โรแมนติสิสม์ (Romanticism) อย่าง ฟรานซิสโก เดอ โกย่า (Francisco de Goya) เขียนภาพเหตุการณ์ตอนที่นโปเลียนจากฝรั่งเศสรุกรานสเปน เรื่องราวที่จิตรกรทั้งสองเขียนในภาพของพวกเขา ได้ช่วยแผ้วถางทางของศิลปะในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดังที่เห็นได้จากงานศิลปะที่ปฏิเสธการเขียนภาพเกี่ยวกับอดีต ของศิลปิน เรียลลิสม์ (Realism, สัจนิยม) อย่างเช่น กุสตาฟ กูร์เบต์ (Gustave Courbet) และ เอดัวร์ มาเนต์ (Edouard Manet)


ในจุดเริ่มต้นของศิลปินสมัยใหม่ พวก อิมเพรสชันนิสต์ (Impressionist, Impressionism) และ โพสต์-อิมเพรสชันนิสต์ (Post-Impressionist, Post-Impressionism) จะทำการปฏิเสธทั้งการเขียนภาพเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และยังไม่สนใจขนบของการสร้างภาพลวงตา (เขียนให้เหมือนจริงมาก) ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา

“ความใหม่” คือสิ่งที่ศิลปินสมัยใหม่ให้ความสำคัญ ทัศนคติแบบนี้จะปรากฏให้เห็นในแนวคิดเกี่ยวกับ “อาวองท์-การ์ด” (avant-garde, หัวก้าวหน้า) คำนี้เป็นศัพท์ทางการทหาร หมายถึง ทหารแนวหน้า (advance guard) ศิลปินอาวองท์-การ์ด หรือศิลปินหัวก้าวหน้า ได้กลายเป็นพวกที่ล้ำยุคล้ำสมัยของสังคม (ก้าวเร็วแซงหน้าจนชาวบ้านตามไม่ทัน) ถึงแม้ว่าความก้าวหน้ามากๆแบบนี้จะได้รับการยอมรับโดยทั่วไป แต่การที่ศิลปินอิสระจนหลุดพ้นไปจากกรอบของยุคสมัย บางทีก็ถูกปฏิเสธจากนักประวัติศาสตร์ศิลป์อยู่เหมือนกัน

บทบาทของผู้อุปถัมภ์ศิลปะในอดีตอย่าง ศาสนจักร รัฐ และขุนนาง ที่ลดลงไปอย่างมาก ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ลัทธิสมัยใหม่ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เพราะศิลปินสมัยใหม่จะมีอิสระเสรีที่จะคิดและทำศิลปะที่แตกต่างไปจากอดีต ซึ่งต้องทำตามความชอบของผู้ว่าจ้าง

นอกจากนี้ การค้าขายศิลปะตามระบบทุนนิยม ก็ยังเป็นตัวกระตุ้นให้ศิลปินทำการทดลองอะไรที่แปลกใหม่ คำว่า “ศิลปะเพื่อศิลปะ” ที่เริ่มแพร่หลายในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ยิ่งกระจายออกไปอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำๆนี้สามารถใช้อธิบายศิลปะที่เกิดจากความคิดส่วนตัวของศิลปิน ที่มีความเป็นปัจเจกสูงเสียจนไม่ต้องการการอ้างอิงไปถึงประเด็นทางสังคมและศาสนา

การเติบโตของ ศิลปะสมัยใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของการที่สังคมตะวันตกได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ “ความเป็นอุตสาหกรรม”, “ความเป็นเมืองใหญ่แบบมหานคร” และการเป็นสังคมแบบวัตถุนิยมอย่างเต็มที่ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปินสมัยใหม่ได้ท้าทายรสนิยมของชนชั้นกลาง โดยหาเรื่องและประเด็นใหม่ๆ รูปแบบใหม่ๆ ที่ดูแปลกประหลาดไปจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิม

ศิลปะสมัยใหม่มักจะมีแนวเนื้อหาเกี่ยวกับ การเฉลิมฉลองเทคโนโลยี การค้นหาจิตวิญญาณ และ การกระตุ้นด้วยความป่าเถื่อน (จากความสนใจในศิลปะของคนป่า (Primitivism)) ศิลปินได้แสดงออกแนวเนื้อหาเหล่านั้นออกมาในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย

แนวเนื้อหาของการเฉลิมฉลองเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ได้ปรากฏออกมาในรูปของการชื่นชม “ความเร็ว” ดังที่เห็นได้จากศิลปะในลัทธิ ฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) การใช้แนวคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ปรากฏให้เห็นในงานของพวก คอนสตรัคติวิสม์ (Constructivism ในสหภาพโซเวียต)

การค้นหาจิตวิญญานจะมีอยู่ในงานของพวก ซิมโบลลิสม์ (Symbolism ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา) เดอ สตีล หรือ เดอะ สไตล์ (De Stijl/The Style ในเนเธอร์แลนด์) นาบิส (Nabis ในฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษ 1890) และ แดร์ บลาว ไรเตอร์ หรือ เดอะ บลู ไรเดอร์ (Der Blaue Reiter/The Blue Rider ในเมืองมิวนิค เยอรมนี) งานประเภทนี้ถือว่าเป็นปฏิกริยาโต้ตอบกับวัตถุนิยมในยุคสมัยใหม่
ความสนใจในความเถื่อนของศิลปะจากคนป่าและชาวเกาะ (อัฟริกันและชาวเกาะ หรือ โอเชียนนิค Oceanic)จะปรากฏชัดในงานของ โพสต์-อิมเพรสชันนิสม์ คิวบิสม์ (Cubism)และ เยอรมัน เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (German Expressionism ในเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 20)ความสนใจในสิ่งเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนให้เห็นผลของลัทธิ “จักรวรรดินิยม” (Imperialism) ที่นิยมล่าอาณานิคม และอ้างว่าตน (ตะวันตก) “ค้นพบ” วัฒนธรรมของดินแดนอันไกลโพ้นเหล่านั้น


อ้างอิงจาก